ทีวีแบบอนาลอก หรือทีวีดิจิตอล

ระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial) ที่ให้บริการในประเทศไทย เริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรกเป็นระบบอนาลอก (Analog TV) เมื่อปีพ.ศ 2498 โดย “สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี” เป็นการส่งด้วยระบบขาวดำ M/NTSC 525 เส้น ต่อมาได้เปลี่ยนแปลง จากระบบเดิม คือ ระบบ M/NTSC มาเป็นระบบทีวีสี PAL – B 625 เส้น ที่นิยมใช้กันในแถบยุโรป ด้วยความกว้างของ ช่องสัญญาณแต่ละช่อง (Bandwidth) เท่ากับ 6‐7 MHz ทั้งนี้การส่งสัญญาณแบบอนาลอก ปัจจุบันถึงขีดจำกัดในการพัฒนา เทคนิคและคุณภาพของความคมชัดของภาพในการส่ง จึงไม่มีการพัฒนา HDTV แบบอนาลอก (High Definition TV) แต่ได้มี การพัฒนาระบบทีวีที่เป็นดิจิตอลขึ้นมาเพื่อรองรับการส่งข้อมูลภาพที่มีความละเอียดมากขึ้น โดยอาศัยอัลกอริทึม MPEG2 หรือ MPEG4 ที่เป็นหัวใจสำคัญในการที่จะบีบอัดสัญญาณภาพและเสียงให้มีบิตเรทที่น้อยลง และสามารถส่งแพร่ภาพเป็นลักษณะ ของ Digital Packets ไปยังผู้รับปลายทางได้



มีหลายๆ นิยามสำหรับ “ดิจิตอลทีวี” แต่โดยภาพรวมแล้วดิจิตอลทีวี เป็นระบบการรับส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีข้อมูลที่มี การเข้ารหัสเป็นดิจิตอล ทีมีค่า “0” กับ “1” เท่านั้น โดยมีกระบวนการต่างๆ ที่จะทำการแปลงสัญญาณภาพและเสียงให้เป็น ดิจิตอล มีการบีบอัดข้อมูล ทำการเข้ารหัสข้อมูล ก่อนที่จะทำการมอดูเลตข้อมูลดิจิตอลเหล่านี้เพื่อส่งผ่านตัวกลางไปสู่ผู้รับ ปลายทาง ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับระบบทีวีอนาลอก

ในต่างประเทศเริ่มได้มีการเปลี่ยน (Transition) จากระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดินที่เป็นอนาลอกทีวี ไปเป็นดิจิตอลทีวี (Digital TV) กันแล้ว เช่นเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ส่วนในอเมริกาได้เริ่มใช้งานเป็นส่วนใหญ่แล้ว โดยจะทำการปิดการแพร่ภาพระบบเดิม (Switch-off) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปีหน้า (2009) ซึ่งแน่นอนว่าระบบดิจิตอลทีวีย่อมมีข้อดีกว่าหลายๆ อย่างนอกจากได้ คุณภาพภาพและเสียงที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีความคุ้มค่าของการใช้งานความถี่ หรือเป็นบริการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นใน หลายๆ ประเทศ จึงพยายามเปลี่ยนมาใช้งานกัน สำหรับในบ้านเรา การให้บริการดิจิตอลทีวีในประเทศไทยไม่ใช่เป็นสิ่งใหม่ แต่ไม่ใช่เป็น โทรทัศน์ภาคพื้นดิน นั่นคือระบบทีวีผ่านดาวเทียมของ ไทยคม (UBC หรือ True Vision) แต่ยังไม่เป็นช่องที่มีความละเอียด เท่ากับ HDTV เนื่องจากการให้บริการผ่านดาวเทียมมีค่าช่องสัญญาณที่แพง ทำให้ผู้ให้บริการได้มองไปถึงการใส่จำนวนช่อง รายการให้มากที่สุดในหนึ่งช่องทรานสปอนเดอร์ โดยไม่เน้นถึงความละเอียดของภาพที่ส่ง

No comments:

Post a Comment