ธุรกิจโทรทัศน์ดาวเทียมปัจจุบัน


จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและปัจจัยด้านต้นทุน ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายให้ความสนใจทำธุรกิจบนโทรทัศน์ ดาวเทียมมากยิ่งขึ้น โดยข้อมูลจากเว็บไซต์จีเอ็มเอ็มแซท ผู้ประกอบการโทรทัศน์ดาวเทียมรายใหญ่ของไทยได้กล่าวถึงเรื่อง ต้นทุนในการดำเนินงานโทรทัศน์ดาวเทียมว่า ธุรกิจโทรทัศน์ผ่าน ดาวเทียม จัดว่าเป็นธุรกิจใหม่ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา และยังมีรัศมีของสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถส่งสัญญาณออกอากาศได้ครอบคลุมหลายพื้นที่ทั้งใน และต่างประเทศ (ปรินทร์ นามบุญเรือง, ม.ป.ป.) ซึ่งเมื่อพิจารณา ถึงความคุ้มทุนแล้วจะพบว่าเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ


ข้อมูลดังกล่าวยังสอดคล้องกับคำกล่าวของ พงษ์ศักดิ์ สวัสดิเกียรติ (2553) ที่ว่า ปัจจุบันการทำโทรทัศน์ดาวเทียมไม่ได้ ใช้ต้นทุนสูงมากนัก “เปรียบราคาเท่ากับรถเบนซ์สักคันเท่านั้น” และหากเทียบกับในอดีต ค่าใช้จ่ายในการผลิตโฆษณาทางโทรทัศน์ ในระยะเวลาหนึ่งปี อาจจะสร้างเนื้อหาเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียมได้ประมาณ 10 ช่อง

ในปัจจุบันนี้ โทรทัศน์ดาวเทียมจึงกลายเป็นธุรกิจหนึ่งที่ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจัดเป็นหนึ่งในธุรกิจที่สามารถสร้าง รายได้จำนวนมากให้กับองค์กร จากการรายงานข่าวของผู้จัดการ ออนไลน์พบว่า ปริมาณโฆษณาบนสื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมรวม ในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมาเติบโตขึ้นร้อยละ 15-20 จากปี พ.ศ. 2554 ที่มีมูลค่าโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ดาวเทียมราว 5,000 ล้าน บาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของงบประมาณที่ใช้ ในการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์มูลค่า 5 หมื่นล้านบาทขณะที่จำนวน ผู้ชมเพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของครัวเรือนไทยทั้งหมด (เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์, 2555)


ในการนี้ สินธ์ุ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ แผนกนีล- เส็น มีเดีย บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า การเพิ่ม ขึ้นของสัดส่วนการรับชมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ในช่วง 4-5 ปีที่ ผ่านมา มีการเติบโตอย่างชัดเจนสัดส่วนการรับชมเพิ่มจากเดิมร้อย ละ 10 เป็นร้อยละ 40 และร้อยละ 50 อย่างรวดเร็วและยังมีแนว โน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (สินธ์ุ เภตรารัตน์, 2555)

นอกจากนั้น นายสมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด ให้ความเห็นว่าตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2555 โฆษณาในส่วนโทรทัศน์ดาวเทียม เติบโตถึงร้อยละ 200-300 จากปีก่อน ขณะเดียวกันพีเอสไอได้ร่วมกับระบบเครือ ข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เี่อไอเอส ในการสร้างกล่องวัด จำนวนผ้ชูมไว้ ในกล่องรับสัญญาณด้วยการใส่ซิมโทรศัพท์ในกล่องรับสัญญาณ สำหรับ การวัดจำนวนผู้ชมเพื่อใช้เป็นข้อมลู อ้างอิง แก่เจ้าของสินค้า ต่างๆ ในการวางแผนลงโฆษณา (ประชาชาติธุรกิจ, 2555)


นอกจากนี้ วรรณี รัตนพล ประธานกรรมการบริหาร ไอพี จีมเีดย์ แบรนด์สบริษัท ในเครือ Interpublic Group ผู้ดำเนินธุรกิจ ด้านวางแผนและซื้อสื่อทั่วโลก ยังได้เปิดเผยอีกว่า ในปี พ.ศ. 2554 พบว่า สมาชิกเคเบิลโทรทัศน์ท้องถิ่น 4 ล้านครัวเรือน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14 และจานรับสัญญาณดาวเทียม 11 ล้านครัวเรือน เพิ่ม ขึ้นถึงร้อยละ 144 คิดเป็นสัดส่วนการเข้าถึงครัวเรือนไทยทั่ว ประเทศจำนวน 17.2 ล้านครัวเรือน หรือร้อยละ 80 ของจำนวน ครัวเรือนไทย 21 ล้านครัวเรือน (วรรณี รัตนพล, 2555)

จากตัวเลขและสถิติดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยืนยันชัดเจนแล้ว ว่า การเติบโตของฐานผู้ชมย่อมส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของ การประกอบธุรกิจ โทรทัศน์ดาวเทียมอย่างชัดเจน ทำให้กลุ่มองค์กร และหน่วยงานต่างเข้ามาแข่งขันในธุรกิจโทรทัศน์ดาวเทียมมากขึ้น และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี ดังนั้น หากเราซื้อจานดาวเทียม พร้อมกล่องรับสัญญาณหนึ่งชุด ในราคาเพียงแค่พันกว่าบาท ท่าน อาจจะได้รับชมรายการโทรทัศน์มากกว่าร้อยช่อง เพราะจากต้นทุน ที่แี่สนถกู ตามที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ผู้ประกอบการต่างสนใจที่จะ ลงทุนในธุรกิจดังกล่าว อันมีผลทำให้ปริมาณช่องเพิ่มขึ้นทุกวัน

No comments:

Post a Comment